กิจกรรมนักศึกษา

กลยุทธ์การตลาดของธนาคารกรุงไทย
1. เสริมสร้างความมั่นคงทางการเงิน และมีผลตอบแทนต่อผู้ถือหุ้นในระดับที่เหมาะสม สนับสนุนการดำเนินงานภาครัฐ โดยมีการบริหารจัดการผลิตภัณฑ์และให้บริการในระดับชั้นนำ

กลยุทธ์การสร้างความแตกต่างของธนาคารกรุงไทย
1. ธนาคารกรุงไทยยึดมั่นในวิสัยทัศน์ คือ การเป็นธนาคารแสนสะดวกที่ให้บริการลูกค้าที่ดีที่สุด โดยมีเป้าหมายสำคัญในการทำให้ธนาคารมีการเติบโตอย่างยั่งยืน มีผลกำไรที่มีคุณภาพ เป็นธนาคารที่ภาครัฐเลือกใช้บริการ และเป็นธนาคารที่มีความพร้อมรองรับการเข้าสู่ AEC ภายใต้ยุทธศาสตร์และแผนงานที่สำคัญ อาทิ การสร้างรายได้ที่มั่นคง การพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการที่เป็นเลิศ การปรับปรุงกระบวนการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพ และรวมถึงการเสริมศักยภาพบุคลากร เพิ่มทักษะ ให้ความรู้อย่างต่อเนื่อง เพื่อการเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมกันผลักดันให้ธนาคารกรุงไทย เป็นสถาบันการเงินชั้นนำของประเทศ (รายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืน ปี 2556)
2. ธนาคารแสนสะดวก หรือ ‘The Convenience Bank’ คือเป้าหมายและวิสัยทัศน์ของธนาคารกรุงไทยในยุคใหม่นี้ ธนาคารกรุงไทยมุ่งสู่การเป็นธนาคารที่ทันสมัย มีผลิตภัณฑ์ครบวงจรตอบสนองทุกกลุ่มลูกค้า และลูกค้าสามารถเข้ามาใช้บริการได้เสร็จสิ้น ณ จุดเดียว ง่าย รวดเร็ว ใช้ได้ทุกที่ ทุกเวลา ตามเป้าหมายและวิสัยทัศน์

การส่งเสริมทางการตลาดของธนาคาร
1. การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงผลิตภัณฑ์ โดยจะร่วมกับบริษัทในเครือ ซึ่งอาจจะต้องใช้หลายหน่วยงานในธนาคารมาประชุมเพื่อวางแผนและเพื่อคิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่ เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่สามารถตอบโจทย์ลูกค้ามากขึ้น รวมถึงการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ด้าน Internet Banking และด้าน Mobile ซึ่งส่วนนี้ถือว่าธนาคารเป็นเจ้าแรกที่นำ ผลิตภัณฑ์ mobile on the move มาให้บริการลูกค้า ซึ่งที่ผ่านมาผลตอบรับถือว่าดีมาก อีกทั้งการปรับปรุงการให้บริการของแต่ละสาขาของธนาคารรวมถึงพนักงานที่ให้บริการ ทั้งนี้เพื่อให้การบริการสะดวกต่อลูกค้าของธนาคารมากยิ่งขึ้น ก็จะมีการพัฒนาด้านดังกล่าวให้มีประสิทธิภาพและตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้ามากขึ้นด้วย
2. ทั้งนี้ ธนาคารยังจะเน้นขยายการเติบโตไปที่ ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) เนื่องจากปัจจุบัน ธนาคารมีฐานลูกค้า SME เยอะแต่ที่จะเน้นมากขึ้นก็คือขนาดเล็ก เพราะมองเห็นถึงช่องทางในการขยายฐานลูกค้ากลุ่มนี้ได้อีก ขณะเดียวกัน SME ขนาดใหญ่ก็ยังมองเห็นช่องทางอยู่เหมือนกัน เพราะปีนี้จะเน้นไปที่การตอบสนองโครงการที่จะเข้าไปลงทุนในประเทศแถบ อินโดจีน ซึ่งธนาคารเชื่อมั่นว่าในแถบอินโดจีนหรือสุวรรณภูมิยังมีศักยภาพสูงที่จะสามารถขยายการลงทุนได้


ขยายเครือข่ายและวิธีการเข้าถึงลูกค้าให้ได้มากที่สุด ทั้งการเปิดสาขาย่อย การให้บริการในวันหยุดและนอกเวลาทำการ การให้บริการด้วยเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ตลอด 24 ชั่วโมง รวมทั้งการร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจอื่นที่มีศักยภาพ เช่น โรงแรม โรงภาพยนตร์ ห้างสรรพสินค้า สถานีบริการน้ำมัน เป็นต้น เพื่อเพิ่มช่องทางการเข้าถึงลูกค้าจำนวนมากพร้อมกัน การให้บริการ e-Banking ผ่านระบบโทรศัพท์บ้าน โทรศัพท์มือถือ และ คอมพิวเตอร์ การเข้าหาลูกค้าถึงบ้านและสำนักงาน โดยการใช้รถยนต์เป็นสาขาเคลื่อนที่ (Mobile Lending) หรือการให้บริการ Drive Through เป็นต้น

การแสดงละคร










อัตราดอกเบี้ยเงินฝาก
          มีผลบังคับใช้ตตั้งแต่ วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2557

อัตราดอกเบี้ยเงินกู้
          มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ วันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2557


ดอกเบี้ย คือ
          ผลตอบแทนที่ผู้ฝากเงินได้รับจากการฝากเงินไว้กับสถาบันการเงิน หรือที่เรียกว่า ดอกเบี้ยเงินฝากผลตอบแทนที่ผู้ให้สินเชื่อได้รับจากผู้ขอสินเชื่อ ซึ่งในกรณีนี้จะหมายถึง สถาบันการเงิน และผู้ประกอบธุรกิจการเงินที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน (Non-bank) หรือที่เรียกว่า ดอกเบี้ยเงินกู้    ผลตอบแทนอาจอยู่ในรูปของตัวเงิน ทรัพย์สิน หรือสิ่งของต่าง ๆ ที่คิดคำนวณเป็นเงินได้ เช่น ธนาคารพาณิชย์แจกของสมนาคุณให้กับลูกค้า อาทิ เครื่องใช้ไฟฟ้า หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ เป็นต้น เพื่อจูงใจให้ฝากเงินไว้กับธนาคาร ดังนั้น การคำนวณดอกเบี้ยที่ได้รับแท้จริงต้องรวมมูลค่าของสมนาคุณด้วย

อัตราดอกเบี้ยเงินฝาก คือ
          อัตราดอกเบี้ยร้อยละต่อปีที่สถาบันการเงินจ่ายให้กับผู้ฝากเงิน เพื่อเป็นค่าตอบแทนที่ผู้ฝากนำเงินมาเปิดบัญชี เงินฝากไว้กับสถาบันการเงิน อัตราดอกเบี้ยเงินฝากมีหลายประเภท หลายอัตรา โดยขึ้นกับระยะเวลาการฝากเงินและเงื่อนไขการถอนเงิน เช่น อัตราดอกเบี้ยของบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ที่สามารถถอนเงินได้ตลอดเวลา จึงต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือน เป็นต้น ทั้งนี้ เมื่อท่านเลือกจะบริหารเงินโดยการฝากเงิน ควรเลือกประเภทการฝากเงินที่เหมาะสมกับรูปแบบการใช้ชีวิต (Lifestyle) ของท่าน เพื่อที่จะได้รับประโยชน์สูงสุดจากการฝากเงินนั้น

อัตราดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อ (ดอกเบี้ยอ้างอิง) คือ
          อัตราดอกเบี้ยลอยตัวที่ธนาคารพาณิชย์ใช้อ้างอิงในการเรียกเก็บดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อจากลูกค้า ได้แก่ 

          MLR (Minimum Loan Rate) หมายถึง อัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บจากลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี ประเภทเงินกู้แบบมีระยะเวลา เช่น มีประวัติการเงินที่ดี มีหลักทรัพย์ค้ำประกันอย่างเพียงพอ โดยส่วนใหญ่ใช้กับเงินกู้ระยะยาวที่มีกำหนดระยะเวลาที่แน่นอน เช่น สินเชื่อเพื่อการประกอบธุรกิจ

          MOR (Minimum Overdraft Rate) หมายถึง อัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บจากลูกค้ารายใหญ่ชั้นดีประเภทเงินเบิกเกินบัญชี

          MRR (Minimum Retail Rate) หมายถึง อัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บจากลูกค้ารายย่อยชั้นดี เช่น สินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อที่อยู่อาศัย สินเชื่อบัตรเครดิต เป็นต้น

          CPR (Consumer Product Rate) หมายถึง อัตราดอกเบี้ยขั้นต่ำสำหรับสินเชื่อบุคคลที่ธนาคารประกาศกำหนด ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยลอยตัวและอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามที่ธนาคารประกาศ หากอัตราดอกเบี้ยและวิธีการกำหนดอัตราดอกเบี้ยในสัญญานี้ขัดต่อกฎหมาย ประกาศ กฎกระทรวง หรือระเบียบที่เกี่ยวข้องให้ถือเอาอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่ธนาคารอาจเรียกเอาจากผู้กู้ได้ในอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่กฎหมายประกาศ กฎกระทรวง หรือระเบียบที่เกี่ยวข้องอนุญาตเป็นอัตราบังคับใช้ตามสัญญาข้อนี้ ณ วันที่ มกราคม พ.ศ.2549 อัตราดอกเบี้ย CPR = 18%  ต่อปี

โครงสร้างองค์กร (กรณีศึกษา)

รูปแบบการจัดองค์การของธนาคารกรุงไทย

ที่มาของภาพ :  http://www.ktb.co.th/
การจัดองค์การแบบโครงงสร้างแบบแมททริกซ์ (Matrix Structure)
         ธนาคารได้นำหลักของการบริหารความเสี่ยง และระบบ Matrix System เข้ามาประยุกต์ใช้ เพื่อให้เกิดการถ่วงดุล (Check & Balance) และปฏิบัติงานโดยตอบสนองในวัตถุประสงค์ต่างในเวลาเดียวกัน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในคุณภาพการดำเนินธุรกิจและการประสานร่วมมือกันระหว่างหน่วยงานต่างๆ ในธนาคาร
          ธนาคารได้ยึดหลักเน้นการบริหารความเสี่ยง (Risk Management) ซึ่งจะก่อให้เกิดระบบการถ่วงดุล (Check & Balance) มีการควบคุมความเสี่ยง (Risk Control) และผู้รับผิดชอบที่ชัดเจน (Risk Owner)นอกจากนี้ ธนาคารยังเน้นรูปแบบ Matrix Organization ซึ่งเป็นการเน้นการทำงานโดยมุ่งให้บรรลุตามเป้าหมายหลักขององค์กรและเป้าหมายของหน่วยงานในเวลาเดียวกัน อีกทั้งเน้นการรวมศูนย์สำหรับงานเชิงนโยบายและกระจายเรื่องการปฏิบัติการแก่หน่วยงานเพื่อให้ได้งานที่เป็นมาตรฐานและคุณภาพเดียว wbrและเน้นความรับผิดชอบและความสัมพันธ์ของงานให้มีความชัดเจน เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Governance) และสร้างความน่าเชื่อถือ ส่วนผู้ถือหุ้น จะมีความมั่นใจว่าเงินลงทุนในธนาคารจะไม่สูญเปล่า และเสื่อมค่า รวมทั้งเชื่อมั่นในทิศทางที่ธนาคารจะเดินหน้าต่อไป และในท้ายที่สุด พนักงานมีความมั่นใจในทิศทางของธนาคาร สามารถเตรียมตัวปรับเพื่อให้รับกับทิศทางใหม่ สามารถตัดสินใจสำหรับอนาคตได้
ลักษณะการจัดองค์การของธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด( มหาชน )
         ธนาคารได้ปฏิบัติตามแนวทางโครงสร้างคณะกรรมการ เพื่อส่งเสริมบรรษัทภิบาลของธนาคารพาณิชย์ โดยจัดโครงสร้างการจัดการ ซึ่งประกอบไปด้วยคณะกรรมการรวม 7 ชุด ดังนี้
 1. Organization Chat รวมของทั้งระบบ      
1.             คณะกรรมการธนาคาร
คณะกรรมการธนาคารมีอำนาจเต็มในการบริหารงาน เพื่อประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ ข้อบังคับของธนาคาร และมติของที่ประชุมผู้ถือหุ้น ทั้งนี้ อยู่ภายใต้เงื่อนไขและข้อกำหนดของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 
2.             คณะกรรมการบริหาร
-  การพิจารณากลั่นกรองหรืออนุมัติสินเชื่อ ปรับปรุงหนี้ และตัดหนี้สูญ ตามอำนาจที่กำหนด
-  การพิจารณากลั่นกรองหรืออนุมัติการลงทุน หรือขายหลักทรัพย์ที่ธนาคารลงทุน การซื้อขายหรือให้เช่าทรัพย์ของธนาคาร ตามอำนาจที่กำหนด
-  การพิจารณากลั่นกรองหรืออนุมัติแต่งตั้งผู้บริหาร ตามที่ได้รับมอบหมาย
-  การพิจารณากลั่นกรองหรืออนุมัติการว่าจ้างที่ปรึกษา การจัดซื้อจัดจ้างตามระเบียบการพัสดุ
-  การพิจารณากลั่นกรองแผนธุรกิจ งานนโยบายและงบประมาณประจำปี การติดตามงานที่มีความสำคัญที่คณะกรรมการธนาคารมอบหมาย
-  การพิจารณาอนุมัติหรือรับทราบกิจการอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการบริหารงานที่คณะกรรมการบริหารเห็นว่าจำเป็นหรือสมควรเป็นการเร่งด่วนเพื่อแก้ปัญหา ซึ่งหากไม่ดำเนินการแล้วจะเกิดความเสียหายแก่ธนาคาร และรายงานให้คณะกรรมการธนาคารทราบโดยเร็ว
-  ดำเนินการอื่นใดตามที่คณะกรรมการธนาคารมอบหมาย
3.             คณะกรรมการตรวจสอบ
-  สอบถามให้ธนาคารมีการรายงานทางการเงิน อย่างเพียงพอถูกต้อง และเชื่อถือได้ เป็นไปตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป
-  สอบถามกับผู้สอบบัญชีถึงประเด็นสำคัญ ๆ อันอาจกระทบต่อความเชื่อถือได้ของรายงานทางการเงิน
-  สอบถามกรณีที่เกิดรายการที่เกี่ยวโยงกัน หรือรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ เพื่อพิจารณาการเปิดเผยข้อมูลของธนาคารและการบันทึกบัญชีให้มี ความถูกต้องและครบถ้วนโปร่งใส
-  สอบถามหลักฐานหากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการดำเนินการ ที่อาจมีผลกระทบต่อผลการดำเนินงานของธนาคารอย่างมีนัยสำคัญ หรือขัดแย้งทางผลประโยชน์ ที่อาจมีผลกระทบต่อการดำเนินงานของธนาคาร
-  สอบถามถึงข้อมูลที่นำส่งหน่วยงานกำกับดูแล ให้มีความสอดคล้องกับข้อมูลในรายงานทางการเงิน
4.             คณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน
กำหนดนโยบาย หลักเกณฑ์ และวิธีการ ในการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน รวมทั้งผลประโยชน์อื่นของกรรมการธนาคาร และผู้บริหารระดับสูง
พิจารณาเสนอแนะนโยบายในภาพรวมเกี่ยวกับการกำหนดค่าตอบแทนและผลประโยชน์อื่นของธนาคาร
สรรหาและคัดเลือกบุคคลที่มีคุณสมบัติ ตามระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกำหนด แล้วนำเสนอคณะกรรมการธนาคารเพื่อพิจารณาแต่งตั้งเป็นกรรมการธนาคารหรือผู้บริหารระดับสูงของธนาคาร
ดูแลให้คณะกรรมการธนาคาร มีขนาดและองค์ประกอบที่เหมาะสมกับองค์กร รวมถึงมีการปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป
เสนอคณะกรรมการธนาคาร เพื่อพิจารณาแต่งตั้งกรรมการธนาคารแทนกรรมการที่พ้นจากตำแหน่งตามข้อบังคับ
ดูแลให้กรรมการและผู้บริหารระดับสูงของธนาคารได้รับผลตอบแทนที่เหมาะสมกับหน้าที่และความรับผิดชอบที่มีต่อธนาคาร
กำหนดแนวทางและประเมินผลงานของผู้บริหารระดับสูง
ดำเนินการอื่น ตามที่คณะกรรมการธนาคารมอบหมาย

5.             คณะกรรมการบรรษัทภิบาลและความรับผิดชอบต่อสังคม
-  เสนอแนวนโยบายเกี่ยวกับหลักบรรษัทภิบาลและความรับผิดชอบต่อสังคมของธนาคารและบริษัทในเครือต่อคณะกรรมการธนาคาร
-  กำกับดูแลการปฏิบัติงานของธนาคารให้เป็นไปตามหลักบรรษัทภิบาลของสถาบันกำกับ เช่น ธนาคารแห่งประเทศไทย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เป็นต้น ด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม
-  พิจารณาทบทวนเกี่ยวกับนโยบายด้านบรรษัทภิบาลและความรับผิดชอบต่อสังคมของธนาคารอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางปฏิบัติของสากล และข้อเสนอแนะของสถาบันหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
-  พิจารณาเสนอข้อพึงปฏิบัติที่ดี สำหรับคณะกรรมการธนาคาร หรือเสนอการกำหนดข้อบังคับคณะกรรมการธนาคาร และคณะกรรมการที่ธนาคารแต่งตั้งทุกชุด
-  เสนอแนะข้อกำหนดเกี่ยวกับจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจของธนาคาร และข้อพึงปฏิบัติของผู้บริหาร
-  ส่งเสริมการเผยแพร่วัฒนธรรมในการกำกับดูแลกิจการที่ดี และการมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนให้เป็นที่เข้าใจทั่วทุกระดับ และมีผลในทางปฏิบัติ
-  พิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการชุดย่อยเพื่อทำหน้าที่สนับสนุนงานบรรษัทภิบาลและความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ได้ตามความเหมาะสม
-  การอื่นใดที่คณะกรรมการธนาคารมอบหมาย
6.             คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง
-  เสนอ/กำหนดนโยบายบริหารความเสี่ยงโดยรวมต่อคณะกรรมการธนาคาร ซึ่งครอบคลุมความเสี่ยงประเภทต่างๆที่สำคัญ ได้แก่ ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ ความเสี่ยงด้านเครดิต ความเสี่ยงด้านตลาด ความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง ความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ และความเสี่ยงที่มีผลกระทบต่อชื่อเสียงของกิจการ เป็นต้น
-  วางกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับนโยบายบริหารความเสี่ยง โดยสามารถประเมิน ติดตาม และดูแลปริมาณความเสี่ยงของธนาคารให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
-  ควบคุม ติดตาม ประเมินผลการบริหารความเสี่ยง และดูแลให้ธนาคารดำเนินการตามนโยบายและแนวทางบริหารความเสี่ยงที่ธนาคาร และหน่วยงานกำกับกำหนด
-  ทบทวนความเพียงพอของนโยบายและระบบบริหารความเสี่ยง รวมถึงความมีประสิทธิผลของระบบและการปฏิบัติตามนโยบายที่กำหนด
-  เสนอ/กำหนดนโยบายการบริหารความเสี่ยง และกำกับดูแลการบริหารความเสี่ยงของกลุ่มธุรกิจทางการเงินให้เป็นไปตามแนวทางการกำกับแบบรวมกลุ่ม (Consolidated Supervision) ของธนาคารแห่งประเทศไทย ตลอดจนควบคุมติดตามและประเมินความเสี่ยงของกลุ่มธุรกิจทางการเงินให้มีประสิทธิภาพและอยู่ในระดับที่ยอมรับได้
-  นำเสนอรายงานผลการดำเนินงานของคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงต่อคณะกรรมการตรวจสอบเพื่อรับทราบและ/หรือพิจารณาทุกเดือน และรายงานต่อคณะกรรมการธนาคารเพื่อทราบ และ/หรือพิจารณาทุกไตรมาส
มีอำนาจที่จะเชิญฝ่ายจัดการหรือผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม และให้ข้อมูลหรือเอกสารในส่วนที่เกี่ยวข้องได้
-  ปฏิบัติหน้าที่อื่นใดตามที่ได้รับมอบหมาย
7.             คณะกรรมการกำกับการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์
ทำหน้าที่ช่วยคณะกรรมการธนาคารในการปฏิบัติหน้าที่กำกับดูแลเกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของธนาคาร เพื่อให้มั่นใจว่า ธนาคารและบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินมีการดำเนินธุรกิจที่สอดคล้องกับกฎหมาย กฎเกณฑ์ ข้อบังคับ มาตรฐาน และแนวปฏิบัติที่ใช้บังคับกับธุรกรรมต่างๆ ทั้งจากหน่วยงานทางการที่มีอำนาจตามกฎหมายหรือผู้กำกับสถาบันการเงิน และกฎระเบียบภายในธนาคาร
 2. Organization Chat ของสายงานต่างๆ
ธนาคารจะแบ่งกลุ่มงานออกเป็น 2 ลักษณะตามหน้าที่ความรับผิดชอบ ประกอบด้วย กลุ่มงานหลัก และกลุ่มงานที่ไม่ใช่งานหลัก
1.             กลุ่มงานสายงานหลัก
-                   สายงานธุรกิจรายย่อยและเครือข่าย
-                   สายงานธุรกิจขนาดกลาง
-                   สายงานธุรกิจขนาดใหญ่ 1
-                   สายงานธุรกิจขนาดใหญ่ 2
-                   สายงานธุรกิจภาครัฐ
-                   สายงานธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์และบริการจัดการทางการเงิน
2.             กลุ่มงานที่ไม่ใช่สายงานหลัก
-                   สายงานบริหารการเงิน
-                   สายงานกำกับและบริหารงานกฎหมาย
-                   สายงานปรับโครงสร้างหนี้และบริหารทรัพย์สิน
-                   สายงานบริหารความเสี่ยง
-                   สายงานปฏิบัติการ
-                   สายงานตรวจสอบภายใน
-                   สายงานทรัพยากรบุคคลและบรรษัทภิบาล
-                   สายงานบริหารการตลาดและสื่อสารองค์กร
-                   กลุ่มยุทธศาสตร์ธนาคาร
3.             Organization Chat ของฝ่ายต่างๆ ในสำนักงานใหญ่
ฝ่ายต่างๆ จะมีหน้าที่ความรับผิดชอบตาม Functional ของฝ่ายที่ได้รับมอบหมาย โดยจะอยู่ภายใต้กรอบแนวทาง การดำเนินงานตามเป้าหมายที่ได้วางไว้  จากประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ และมีคณะกรรมการธนาคารซึ่งได้รับการรับเลือกจากผู้ถือหุ้นให้ทำหน้าที่ควบคุมดูแลการดำเนินงาน
4.             Organization Chat ของสำนักงานเขตและสาขา 
ธนาคารกรุงไทยมีสาขาทั้งหมด 1,167 สาขา โดยแบ่งเป็น
-                   สาขาในเขตกรุงเทพและเขตปริมณฑล  442  สาขา
-                   สาขาในภาคกลาง  105  สาขา
-                   สาขาในภาคเหนือ  172  สาขา
-                   สาขาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  212  สาขา
-                   สาขาในภาคตะวันออก  104  สาขา
-                   สาขาในต่างประเทศ  9  สาขา
      สาขาของธนาคารจะได้รับมอบอำนาจจากสำนักงานใหญ่ในการบริหารดูแลและสนับสนุน
ให้สามารถทำธุรกิจแข่งขันกับธนาคารอื่นได้ โดยในแต่ละสาขาจะมีผู้จัดการสาขาเป็นผู้ควบคุมดูแลกิจการในการดำเนินการให้บรรลุตามเป้าหมาย
ที่มา รายประจำปีธนาคารกรุงไทย ปี 2556

                                                                      คณะกรรมการบริหาร
นางอรุณภรณ์ ลิ่มสกุล          กรรมการธนาคาร ประธานกรรมการบรรษัทภิบาลและความรับผิดชอบต่อสังคม และกรรมการบริหาร
นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล     กรรมการธนาคาร และประธานกรรมการบริหาร
นายยงยุทธ ชัยพรหมประสิทธิ์            กรรมการธนาคาร กรรมการบริหาร และกรรมการบรรษัทภิบาลและความรับผิดชอบต่อสังคม
นายวรภัค ธันยาวงษ์              กรรมการผู้จัดการใหญ่ กรรมการบริหาร และกรรมการบริหารความเสี่ยง


คณะกรรมการธนาคาร
นายวรวิทย์ จำปีรัตน์             ประธานกรรมการธนาคาร
นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล     กรรมการธนาคาร และประธานกรรมการบริหาร
นายจุลสิงห์ วสันตสิงห์         ประธานกรรมการอิสระ ประธานกรรมการตรวจสอบ และกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน
นายนนทิกร กาญจนะจิตรา  กรรมการอิสระ ประธานกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน กรรมการตรวจสอบ และกรรมการกำกับการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์
นางอรุณภรณ์ ลิ่มสกุล          กรรมการธนาคาร ประธานกรรมการบรรษัทภิบาลและความรับผิดชอบต่อสังคม และกรรมการบริหาร
นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์    กรรมการอิสระ ประธานกรรมการบริหารความเสี่ยง ประธานกรรมการกำกับการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ และกรรมการตรวจสอบ
นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ      กรรมการธนาคาร กรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน และกรรมการบริหารความเสี่ยง
นายวีรภัทร ศรีไชยา              กรรมการอิสระ กรรมการบรรษัทภิบาลและความรับผิดชอบต่อสังคม และกรรมการบริหารความเสี่ยง
นายยงยุทธ ชัยพรหมประสิทธิ์            กรรมการธนาคาร กรรมการบริหาร และกรรมการบรรษัทภิบาลและความรับผิดชอบต่อสังคม
นายกัลยาณะ วิภัติภูิมิประเทศ              กรรมการอิสระ และกรรมการกำกับการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์
นายสมชาย พูลสวัสดิ์            กรรมการธนาคาร และกรรมการบรรษัทภิบาลและความรับผิดชอบต่อสังคม
นายวรภัค ธันยาวงษ์              กรรมการผู้จัดการใหญ่ กรรมการบริหาร และกรรมการบริหารความเสี่ยง

คณะกรรมการตรวจสอบ
นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์    กรรมการอิสระ ประธานกรรมการบริหารความเสี่ยง ประธานกรรมการกำกับการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ และกรรมการตรวจสอบ
นายนนทิกร กาญจนะจิตรา  กรรมการอิสระ ประธานกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน กรรมการตรวจสอบ และกรรมการกำกับการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์
นายจุลสิงห์ วสันตสิงห์         ประธานกรรมการอิสระ ประธานกรรมการตรวจสอบ และกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน

ธนาคารกรุงไทย
สาขาในประเทศไทย มีทั้งหมด 1,167 สาขา (ข้อมูลจากรายงานประจำปี : ณ วันที่ 31 มกราคม 2557)
สาขาในเขตกรุงเทพ      298 สาขา                                             
สาขาในเขตปริมณฑล  144  สาขา
-นครปฐม 20 สาขา
-นนทบุรี 29 สาขา
-ปทุมธานี 26 สาขา
-สมุทรปราการ 28 สาขา
-สมุทรสาคร 11สาขา
สาขาในภาคกลาง  105  สาขา
-กาญจนบุรี 12 สาขา
-ชัยนาท 4 สาขา
-เพชรบุรี 6 สาขา
-ประจวบคีรีขันธ์ 10 สาขา
-ราชบุรี 14 สาขา
-พระนครศรีอยุธยา 15 สาขา
-สิงห์บุรี 3 สาขา
-ลพบุรี 11 สาขา
-สุพรรณบุรี 12 สาขา
-สมุทรสงคราม 2 สาขา
-อ่างทอง 12 สาขา
-สระบุรี 12 สาขา
สาขาในภาคเหนือ  172  สาขา
-กำแพงเพชร 9 สาขา
-เชียงราย 16 สาขา
-เชียงใหม่ 40 สาขา
-ตาก 6 สาขา
-นครสวรรค์ 15 สาขา
-พิษณุโลก 16 สาขา
-น่าน 3 สาขา
-พะเยา 9  สาขา
-เพชรบูรณ์ 9 สาขา
-พิจิตร 7 สาขา
-แพร่ 4 สาขา
-แม่ฮ่องสอน 4 สาขา
-อุตรดิตถ์ 8 สาขา
-ลำปาง 10 สาขา
-ลำพูน 6 สาขา
-สุโขทัย 7 สาขา

สาขาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  212  สาขา
-กาฬสินธุ์ 5 สาขา
-ขอนแก่น 25 สาขา
-ชัยภูมิ 10 สาขา
-นครพนม 5 สาขา
-นครราชสีมา 28 สาขา
-บุรีรัมย์ 12 สาขา
-มหาสารคาม 11 สาขา
-มุกดาหาร 4 สาขา
-ยโสธร 6 สาขา
-ร้อยเอ็ด 13 สาขา
-เลย 5 สาขา
-ศรีสะเกษ 9 สาขา
-สกลนคร 9 สาขา
-สุรินทร์ 11 สาขา
-หนองคาย 13 สาขา
-หนองบัวลำภู 3 สาขา
-อุบลราชธานี 23 สาขา
-อุดรธานี 17 สาขา
-อำนาจเจริญ 3 สาขา

สาขาในภาคตะวันออก  104  สาขา
-จันทบุรี 12 สาขา
-ฉะเชิงเทรา 15  สาขา
-ชลบุรี 43 สาขา
-ตราด 5 สาขา
-นครนายก 3 สาขา
-ปราจีนบุรี 5 สาขา
-ระนอง 16 สาขา
-สระแก้ว 5 สาขา
สาขาในภาคใต้  162  สาขา
-กระบี่ 10 สาขา
-ชุมพร 8 สาขา
-ตรัง 13 สาขา
-นครศรีธรรมราช 21  สาขา
-นราธิวาส 5 สาขา
-ปัตตานี 4 สาขา
-พังงา 5 สาขา
-พัทลุง 7 สาขา
-ภูเก็ต 14 สาขา
-ยะลา 8 สาขา
-ระนอง 3 สาขา
-สงขลา 31 สาขา
-สตูล 4 สาขา
-สุราษฎร์ธานี 29 สาขา



สาขาในต่างประเทศ  9  สาขา
-สาขาอุนหมิง (ประเทศจีน)                                                  -สาขาสิงค์โปร์  (ประเทศสิงคโปร์)
-สาขาย่อยจัหวัดเสีบมเรียบ (ประเทศกัมพูชา)                       -สาขาเคย์แมน (หมู่เกาะเคย์แมน ประเทศคิวบา)
-สาขานครหลวงเวียงจันทน์  (ประเทศลาว)
-สนง.ผู้แทนย่างกุ้ง (ประเทศพม่า)
-สาขาพนมเปญ (ประเทศกัมพูชา)
-สาขามุมไบ  (ประเทศอินเดีย)
-สาขาลอสแองเจลิส (ประเทศสหรัฐอเมริกา)

KTB เติมเต็มทุกชีวิต เชื่อมติดทุกความฝัน
ALL  CONNECTING  DREAM

จากงาน มหกรรมการเงิน Money Expo ครั้งที่ 14 ทางธนาคารกรุงไทยได้มีผลิตภัณท์ที่เปิดให้บริการแก่ลูกค้า ดังนี้
1.สินเชื่อที่อยู่อาศัย (กรุงไทยบ้านแสนสะดวก)
เป็นเงินกู้แบบมีกำหนดเวลา (Term Loanที่ธนาคารให้แก่ผู้บริโภคเพื่อจัดหาที่อยู่อาศัย
โดยจำนองที่อยู่อาศัยนั้นเป็นหลักประกัน
ปีที่ 1
หลังจากนั้น
3.25%
MLR-0.25%
อัตราดอกเบี้ย

 
อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา (Effective Interest Rate) เท่ากับ 6.30% ต่อปี
หมายเหตุ : คำนวณจากวงเงินกู้ 1.00 ล้านบาท อายุสัญญา 20 ปี   MLR=7% ต่อปี

2.สินเชื่อกรุงไทย สบาย (KTB Three Easy)
สินเชื่อบุคคลใหม่ ไม่มีหลักประกัน ไม่ต้องมีบัญชีเงินเดือนผ่านธนาคาร
โดยมีจุดเด่นผลิตภัณฑ์ ประการคือ
 1.  
กู้สบายง่ายๆ ไม่ต้องมีบุคคลค้ำประกัน
2.  
ผ่อนสบายชำระคืนง่าย กี่ครั้งก็ได้ใน เดือน (ตามจำนวนเงินผ่อนชำระรายเดือนที่ตกลงกับธนาคาร) ผ่านทุกช่องทางของธนาคาร}
3.  
เช็คยอดสบายตรวจสอบยอดหนี้ง่ายๆ ผ่าน KTB Loan Convenience Card
 
วัตถุประสงค์ในการกู้
  • เพื่อการอุปโภค บริโภค
  • เพื่อชำระหนี้ที่มีกับสถาบันการเงินอื่น

3.สินเชื่อผู้รับเหมาภาครัฐและรัฐวิสาหกิจ
ให้สินเชื่อครบวงจรแก่ผู้ประกอบการที่รับงานจากหน่วยงานราชการ/ รัฐวิสาหกิจ ภายใต้ข้อเสนอพิเศษ และอนุมัติง่าย ได้วงเงินเร็ว ช่วยเพิ่มสภาพคล่องและโอกาสทางธุรกิจ
หนังสือค้ำประกันทันใจ (KTB - Quick L/G) 
สนับสนุน L/G Bid และ L/G Performance สูงสุดประเภทละ 10 ล้านบาท อนุมัติเร็ว ค่าธรรมเนียมต่ำ
        KTB- Quick L/G Bid
              •  วงเงินหนังสือค้ำประกันการยื่นซองประกวดราคาต่อหน่วยงานราชการ/ รัฐวิสาหกิจ ที่จะเข้าประมูลงานรับเหมาก่อสร้าง หรือรับเหมาจัด ซื้อจัดจ้าง
              •  
วงออกหนังสือค้ำประกันได้ภายใน วัน
              •  
ลดหย่อนค่าธรรมเนียมเป็นกรณีพิเศษ เหลือเพียงร้อยละ 1.5 – 2.0 ต่อปี สำหรับท่านที่ยื่นขอภายในปี 2556 
        KTB- Quick L/G Performance
              •   วงเงินหนังสือค้ำประกันสัญญาฯ เพื่อไปวางต่อหน่วยงานราชการ/ รัฐวิสาหกิจ
              •   
ธนาคารเปิดช่องทางด่วนพิเศษ ให้ท่านสามารถขอวงเงินสูงสุด 10 ล้านบาท โดยมีเงินฝากค้ำประกันเต็มวงเงิน
สินเชื่อรับเหมาก่อสร้าง (KTB - Project Finance) 
สนับสนุนสินเชื่อครบวงจรตั้งแต่เริ่มต้นโครงการจนกระทั่งดำเนินการแล้วเสร็จ โดยให้สินเชื่อ Pre Financing สูงสุด 30% ของมูลค่าโครงการ และ สินเชื่อ Post financing สูงสุด 90% ของแต่ละงวดงาน 
        เงินทุนหมุนเวียนก่อนเริ่มทำงาน (Pre Finance)
              •  วงเงินกู้โดยตั๋วสัญญาใช้เงิน (P/N Pre-Finance) สูงสุดถึง 30% ของมูลค่างาน ใช้ได้ทันทีหลังจากประมูลงานได้
              •  
สามารถเลือกใช้เป็นวงเงิน O/D ได้ไม่เกิน 2.5% ของมูลค่างาน หรือสูงสุดถึง ล้านบาท (ทั้งนี้ เมื่อรวมกับ P/N แล้วไม่เกิน 30% ของมูลค่างาน)
              • 
หลักประกันน้อยเพียง 30% ของวงเงิน และมี บสย.ค้ำประกัน   พร้อมทั้งโอนสิทธิ์การรับเงินค่างานให้ธนาคาร
        เงินทุนหมุนเวียนหลังส่งมอบงานเรียบร้อยแล้ว (Post Finance)
              • หลังส่งมอบงานในแต่ละครั้ง ลูกค้าสามารถขอวงเงิน Factoring ได้สูงสดถึง 90% ของมูลค่างานสุทธิในแต่ละงวด เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนระหว่างรอรับเงินค่างาน
              • 
ไม่ต้องใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน หรือโอนสิทธิ์เงินฝากฯ เพียงร้อยละ 10 - 20 ของวงเงิน   พร้อมทั้งโอนสิทธิ์การรับเงินค่างานให้ธนาคาร
4.สินเชื่อ SME
สินเชื่อกรุงไทยแฟ็กเตอริง เพิ่มสภาพคล่องและให้มีเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินธุรกิจ สำหรับผู้ประกอบการ  SME
-รับซื้อลูกหนี้การค้าทุกประเภท
-ให้วงเงินสูงสุดถึง 90% ของมูลค่าลูกหนี้การค้า
-รับซื้อลูฏหนี้การค้า นานถึง 180 วัน
สินเชื่อกรุงไทยประหยัดพลังงาน 
เงินกู้ระยะยาว (Term Loanอัตราดอกเบี้ย ดังนี้ ปีที่ 1-2 ร้อยละ MLR-1.0%ต่อปี และ ปีที่3เป็นต้นไป ร้อยละ MLRต่อปี
-วงเงินหมุนเวียน อัตราดอกเบี้ยไม่ต่ำกว่าร้อยละ MLR ต่อปี
-ผ่อนชำระได้นานสูงสุด 10 ปี สำหรับ เงินกู้ระยะยาว (Term Loan)
สินเชื่อนวัตกรรมดี... ไม่มีดอกเบี้ย
  • เพื่อสร้างโอกาสให้ผู้ประกอบการไทย ให้สามารถแสวงหา เทคโนโลยี ผลงานวิจัยและพัฒนาไปพัฒนาต่อยอดให้เกิดการลงทุนในธุรกิจใหม่
  • เพื่อช่วยผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมสร้างธุรกิจนวัตกรรมที่มีประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคม
  • สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.)ให้การสนับสนุน ดอกเบี้ย ปี สูงสุด ล้านบาท ต่อโครงการ ให้กับผู้ประกอบการ
  • ให้วงเงินกู้สูงสุด 30 ล้านบาท
  • ปลอดดอกเบี้ยสูงสุด  ล้านบาทภายในระยะเวลาผ่อนชำระ 3 ปีแรก  ผ่อนชำระได้นานสุด 5ปี รวมระยะเวลาปลอดชำระเงินต้น(Grace Periodไม่เกิน ปี
สินเชื่อ KTB SME Start-up สินเชื่อสำหรับผู้ประกอบการใหม่ (สินเชื่อ KTB SME Start-up)
                เป็นโครงการที่ บสย. ให้บริการค้ำประกันสินเชื่อให้กับผู้ประกอบการ SMEs ที่เริ่มประกอบธุรกิจใหม่ ซึ่งมีข้อจำกัดด้านหลักประกัน  ให้สามารถขอสินเชื่อจากสถาบันการเงิน เพื่อเป็นเงินทุนในการดำเนินกิจการได้ ทั้งนี้ บสย. รับค้ำประกันสินเชื่อใหม่ หรือ สินเชื่อในส่วนที่ขยายงาน  โดยต้องไม่นำไปชำระหนี้เดิมกับสถาบันการเงินผู้ให้กู้  ระยะเวลาค้ำประกันไม่เกิน 7 ปี
โดยพิจารณาวงเงินตามความต้องการใช้ในการดำเนินกิจการของผู้ขอสินเชื่อเป็นหลัก สูงสุดไม่เกิน 2 ล้านบาท ดังนี้
กรณี
วงเงิน O/D และ/หรือ T/L
หลักประกัน (ต้องมีทุกข้อรวมกัน)
อัตราดอกเบี้ย
1
ไม่เกิน ลบ. โดยให้
O/D ไม่เกิน 0.3  ลบ.
  • บุคคล / นิติบุคคลค้ำฯ
  • บสย. ค้ำฯ ตามโครงการ PGS Start-up SMEs เต็มวงเงิน
O/D = MRR+5%
T/L = MRR+3%
2
ไม่เกิน ลบ. โดยให้
O/D ไม่เกิน 0.6  ลบ.
  • หลักประกันไม่น้อยกว่า 20% ของวงเงิน
  • บุคคล / นิติบุคคลค้ำฯ
  • บสย. ค้ำฯ ตามโครงการ PGS Start-up SMEs เต็มวงเงิน
MRR+2.5%
3
ไม่เกิน ลบ. โดยให้
O/D ไม่เกิน 0.6  ลบ.
  • หลักประกันไม่น้อยกว่า 40% ของวงเงิน
  • บุคคล / นิติบุคคลค้ำฯ
  • บสย. ค้ำฯ ตามโครงการ PGS Start-up SMEs เต็มวงเงิน



โครงการเงินกู้เพื่อสิ่งแวดล้อม    ธนาคารสนับสนุนแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำสำหรับภาคเอกชนเพื่อดำเนิน การดังต่อไปนี้
  1.  เพื่อจัดให้มีระบบบำบัดอากาศ/ น้ำเสีย ระบบกำจัดของเสีย/ อุปกรณ์ เพื่อควบคุมบำบัดหรือขจัดมลพิษที่เกิดจากกิจกรรม / การดำเนินกิจการของตนเองเพื่อให้เป็นไปตามกฎหมาย
 2. เพื่อรับจ้างให้บริการบำบัดน้ำเสียหรือกำจัดของเสียตาม พรบ. ส่งเสริมและรักษาสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535
อัตราดอกเบี้ยและหลักประกัน
อัตราดอกเบี้ย
หลักประกัน
2%
หนังสือค้ำประกันของธนาคาร หรือ โอนสิทธิฯ เงินฝาก
3%
หลักทรัพย์อื่น
นอกจากนี้ยังมีบริการ กรุงไทยธนบดี ทีปรึกษาทางการเงินส่วนบุคคล รับคำปรึกษาการลงทุนแบบตัวต่อตัว ด้วยเครื่องมือคำนวณออนไลน์ใหม่ๆ อาทิเช่น จัดพอร์ตลงทุน วางแผนภาษี ตรวจสุขภาพทงการเงิน สามารถกดไลด์ Fanpage กรุงไทยธนบดี  ได้ใน Facebook เพื่อติดตามข่าวสาร

เงินฝาก KTB Zero Tax Extra
ระยะเวลาฝาก 24 เดือนฝากเท่ากันทุกเดือน ฝากขั้นต่ำ 1,000.00 บาท สูงสุดไม่เกิน 25,000.00 บาท อัตราดอกเบี้ย 3.50% ต่อปี ตั้งแต่ 14 มีนาคม -30 มิถุนายน 2557

เงินฝากประจำกรุงไทยดอกสูง
ฝากขั้นต่ำ 10,000.00 บาท
-ระยะเวลาฝาก 10 เดือน อัตราดอกเบี้ย 2.50% ต่อปี/10ล้านบาทขึ้นไป
รับดอกเบี้ย 2.60%  ต่อปี ตั้งแต่ 1-31 พฤษภาคม 2557
-ระยะเวลาฝาก 36 เดือน อัตราดอกเบี้ย 3.0%  ต่อปี/10 ล้านบาทขึ้นไป
รับดอกเบี้ย 3.10%  ต่อปี ตั้งแต่ 9-31 พฤษภาคม 2557

เงินฝากประจำตามใจ
ฝากขั้นต่ำ 50,000.00 บาท ดอกเบี้ยอัตราพิเศษ ช่วงระยะเวลาฝาก 91-365 วัน
อัตราดอกเบี้ย 2.20%  ต่อปี และ
อัตราดอกเบี้ย 2.50 ต่อปี เมื่อฝากผ่าน บัญชี netbank (Net Flexible Fixed1-31 พฤษภาคม 2557


credit : บูธธนาคารกรุงไทย งาน Money Expro

เยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ไทย


ประวัติพิพิธภัณฑ์ธนาคารไทย
           ตั้งแต่ก่อธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด ( มหาชน ) ตั้งมาจนถึงปัจจุบัน ธนาคารมีเอกสารสำคัญ และเครื่องมือเครื่องใช้จำนวนมาก อันบ่งบอกถึงวิวัฒนาการแห่งความเจริญก้าวหน้าในระบบการเงินการธนาคารของประเทศ ซึ่งสะท้อนให้เห็นภาพในอดีตได้อย่างชัดเจน และด้วยตระหนักถึงคุณค่าของความรู้อันสืบเนื่องมาจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของระบบการเงินการธนาคาร ซึ่งเป็นสิ่งล้ำค่า และเป็นของหายากในปัจจุบัน ธนาคารจึงได้จัดสร้าง “ พิพิธภัณฑ์ธนาคารไทย ” ขึ้น เพื่อเป็นสถานที่ในการจัดแสดงสิ่งของล้ำค่าทางประวัติศาสตร์ด้านการเงินการธนาคารของชาติ สำหรับเป็นแหล่งค้นคว้าด้านวิชาการ อันเป็นประโยชน์ต่อคนรุ่นหลัง ซึ่งสามารถใช้เป็นที่ค้นคว้าเพิ่มเติมต่อไปได้
พิพิธภัณฑ์ เริ่มเปิดดำเนินการที่อาคารสำนักงานธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาตลาดน้อย เมื่อปี พ.ศ. 2526 และได้ย้ายมาจัดแสดงที่สำนักงานใหญ่ รัชโยธิน โดยมีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2539 ณ อาคารพิพิธภัณฑ์ธนาคารไทย และในโอกาสครบรอบ 100 ปี ธนาคารไทยพาณิชย์ ได้มีการปรับปรุงและได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนิน มาทรงเยี่ยมชมอย่างเป็นทางการเมื่อวันอังคารที่ 30 มกราคม 2550 ในวาระครบรอบ 100 ปี ธนาคารไทยพาณิชย์

วิวัฒนาการเงินตรา


ก่อนที่จะนำเงินตรามาใช้เป็นสื่อกลางในการซื้อขายกันดังในปัจจุบัน คนเราได้นำระบบการแลกเปลี่ยนผลิตผลของตน กับสิ่งอื่นที่ต้องการมาใช้ตั้งแต่ก่อนสมัยประวัติศาสตร์แล้ว แต่การแลกเปลี่ยนโดยตรงที่กล่าวนี้ไม่สะดวก เนื่องจากผลิตผลบางชนิด เป็นสิ่งมีชีวิต เช่น สัตว์เลี้ยงไม่สามารถตัดแบ่งกันได้ สินค้าที่นำมาแลกเปลี่ยนกัน มีคุณภาพไม่เท่ากัน นอกจากนี้ความต้องการของผู้ที่มีผลิตผล ที่ต้องการจะแลกเปลี่ยนทั้งสองฝ่ายไม่ตรงกัน การแลกเปลี่ยนจึงไม่อาจเกิดขึ้นได้
เพื่อให้การแลกเปลี่ยนเป็นที่พอใจของทั้งสองฝ่าย คนเราจึงเริ่มนำเอาวัตถุมีค่าบางชนิด ซึ่งถือกันว่า เป็นของมีค่าในสังคมขณะนั้น มาเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน วัตถุที่นำมาใช้เป็นสื่อกลางนี้ มีหลากหลายชนิดแตกต่างกันไปในแต่ละสังคม และยุคสมัย เช่น ปศุสัตว์ ลูกปัด เกลือ เปลือกหอย ขนนก ขวานหิน หัวลูกธนู หนังสัตว์ ฟันปลาวาฬ เครื่องประดับ โลหะต่าง ๆ เป็นต้น
สิ่งต่างๆ เหล่านี้ คนเราได้นำมาใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน จึงเกิดระบบการแลกเปลี่ยน โดยใช้สื่อกลางขึ้น ในบรรดาสิ่งต่างๆ ที่ใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน มากมายหลายชนิดนั้น แร่เงินและแร่ทองคำ มีคุณสมบัติที่เหนือกว่า ผลิตผลทางการเกษตร เช่น หายาก คงทน ตัดแบ่งเป็นชิ้นเล็ก ๆ ทอนค่าลงได้ โดยไม่เสียคุณสมบัติเดิม หลอมรวมกันเป็นก้อนใหญ่ขึ้นได้ พกพาสะดวก ทำเครื่องประดับได้งดงาม ผู้คนในสังคมต่างๆ ทั่วโลก จึงนิยมใช้โลหะทั้งสองชนิด เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์

วิวัฒนาการธนาคาร

การเก็บอาหารและสิ่งมีค่านั้น เป็นนิสัยอย่างหนึ่ง ที่คนเราประพฤติปฏิบัติกันมา ตั้งแต่สมัยโบราณ ควบคู่กับประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติแล้ว เมื่อมีการนำสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนเข้ามาใช้ การเก็บรักษาทรัพย์สินตลอดจนอาหาร จึงค่อยๆ เปลี่ยนรูปมาเป็น การเก็บออมสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน สถานที่ซึ่งสามารถอำนวยความปลอดภัย ในการเก็บรักษาสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนจึงเกิดขึ้น
ต่อมา สถานที่รับฝากเหล่านี้ ได้นำสิ่งของสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน ที่รับฝากไว้ และมีจำนวนมากออกให้ยืม โดยได้รับผลตอบแทน กิจการธนาคารจึงเกิดขึ้น
ครั้นเมื่อมีการนำโลหะเงิน และโลหะทองมาใช้เป็นเงินตราแล้ว ด้วยมาตรฐานของเงินตรา ที่เป็นโลหะที่มีคุณสมบัติเหมือนกันทุกชิ้น จึงทำให้เกิดความสะดวก ในการชำระหนี้มากขึ้น การค้าขายจึงแพร่หลาย กว้างขวางมากขึ้นกว่าเดิม เมื่อการเดินเรือสามารถทำได้กว้างขวางขึ้น การค้าขายทางทะเล ก็สามารถทำได้กว้างขวางตามไปด้วย ความจำเป็นในการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างสกุล ซึ่งมีน้ำหนัก และความบริสุทธิ์ของเนื้อเงินต่างกันก็เกิดขึ้น การส่งเงินไปชำระหนี้ และการรับฝาก การเรียกเก็บเงิน การให้กู้ยืมเงิน จึงเป็นปัจจัยสำคัญ ที่ทำให้ธุรกิจการธนาคาร แพร่หลายและรุ่งเรืองต่อมา

ต้นแบบธนาคารไทย

การติดต่อและค้าขายกับต่างประเทศ ที่มีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างมากมาย ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น เป็นเหตุสำคัญ ทำให้ต่างประเทศเห็นเป็นช่องทาง ที่จะหาประโยชน์ จากการที่ประเทศไทยขาดธนาคาร ที่จะทำธุรกิจ การธนาคารพาณิชย์
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ธุรกิจการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ จึงได้เข้ามาเปิดสาขา ดำเนินกิจการในประเทศไทย โดยเริ่มตั้งแต่ พุทธศักราช 2431 เป็นต้นมา
และในที่สุด สาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ ทั้ง 3 แห่ง ได้จัดพิมพ์ และนำบัตรธนาคาร เข้ามาใช้ในระบบการเงินของไทยด้วย ในระยะต่อมาด้วยความสำคัญของธุรกิจการธนาคาร ที่มีต่อการค้าและเศรษฐกิจของประเทศนั้น พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย เสนาบดี กระทรวงพระคลังมหาสมบัติในขณะนั้น จึงทรงคิดตั้ง ธนาคารของชาติ หรือธนาคารกลางขึ้นก่อน เพื่อที่จะให้เป็น ตัวแทนทางการเงินของรัฐบาล แล้วยังจะทรงให้ ธนาคารของชาตินี้ เป็นผู้พิมพ์ธนบัตรของประเทศขึ้น และนำออกใช้อีกด้วย แต่ก็ต้องทรงระงับความคิดนี้ไว้
เนื่องจากบรรดาที่ปรึกษาทางการเงิน ชาวต่างประเทศพากันคัดค้าน พระองค์จึงทรงหันไป ปรับปรุงมาตราหน่วยเงินของไทย ให้เป็นระเบียบ แต่เพียงประการเดียว โดยทรงพิจารณา ลดหน่วยเงินตราของไทยลง จากเดิม 9 หน่วย ได้แก่ ชั่ง ตำลึง บาท สลึง เฟื้อง ซีก เสี้ยว อัฐ และโสฬส ให้เหลือเพียง 2 หน่วย ได้แก่ “บาท” และ “สตางค์” อันเป็นระบบทศนิยม ทำให้สะดวกแก่การคิดคำนวณ และลงบัญชี ในพุทธศักราช 2441 พร้อมกับได้เริ่มติดต่อกับประเทศอังกฤษ เพื่อพิมพ์ธนบัตร เข้ามาใช้ใน พุทธศักราช 2445
ระบบการเงินของไทย จึงประกอบด้วย เหรียญกษาปณ์ และธนบัตร เมื่อได้จัดรูปแบบของ ระบบเงินตราของประเทศเรียบร้อยแล้ว จึงประกาศยกเลิกการใช้เงินพดด้วง ชำระหนี้ตั้งแต่วันที่ 28 ตุลาคม พุทธศักราช 2447
ส่วนทางด้านความคิด จะจัดตั้งธนาคารขึ้นนั้น เมื่อยังไม่สามารถ จัดตั้งธนาคารของรัฐขึ้นได้ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย จึงทรงหันไปพิจารณา ธนาคารของเอกชน หรือธนาคารพาณิชย์ ซึ่งทรงตระหนักดี ถึงความจำเป็นของประเทศ ที่ต้องมีการค้าขายกับต่างประเทศ ซึ่งมีปริมาณสูงขึ้นอยู่ตลอดเวลา
นอกจากนี้ ยังทรงเห็นถึงความยากลำบาก ของบรรดาพ่อค้าชาวไทย และจีน ที่ต้องติดต่อขอใช้บริการจาก สาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ ที่มีอยู่ในขณะนั้น แต่ก็มิได้รับความสะดวก ประกอบกับ การที่ประเทศไทยยังไม่มีธนาคารพาณิชย์ ที่เป็นของคนไทยมารองรับ
พระองค์จึงทรงตัดสินพระทัย ที่จะจัดตั้งธนาคารพาณิชย์ขึ้นมาให้จงได้ จึงทรงเห็นว่า น่าที่จะทดลองดำเนินงานดูก่อน ซึ่งนอกจากจะช่วยให้ มีความรู้ในการบริหารธนาคารขึ้นแล้ว เมื่อจะขยายกิจการให้ใหญ่โตต่อไป ก็จะสามารถนำประสบการณ์ ไปใช้แก้ปัญหาต่าง ๆ ได้
ที่สำคัญคือ เป็นการฝึกให้ชาวไทย มีความรู้ในด้านการบริหารธนาคารพาณิชย์อีกด้วย พระองค์ทรงจัดหาเงินลงทุนได้ จำนวน 30,000 บาทแล้ว ก็ทรงเตรียมการจัดตั้ง ธนาคารพาณิชย์ขนาดเล็ก โดยยื่นขออนุญาตจัดตั้ง “บุคคลัภย์” ขึ้น เริ่มสั่งซื้อกระดาษ เครื่องมือ เครื่องใช้ต่าง ๆ ติดต่อขอเช่าตึกแถวของพระคลังข้างที่ ตำบลบ้านหม้อ พร้อมทั้งจัดหาพนักงาน รวมทั้งผู้จัดการไว้ เตรียมทำพิธีเปิดดำเนินการต่อไป เมื่อได้รับอนุญาตแล้ว

ไทยพาณิชย์กับการก้าวสู้ยุคปัจจุบัน

ภาพพจน์ของธนาคารไทยพาณิชย์ ที่ปรากฏในความรู้สึกของสาธารณชน คือ ความมั่นคง มีผู้บริหารมืออาชีพ มีความเจริญเติบโตสูง เป็นผู้นำทางเทคโนโลยีการธนาคาร ในขณะที่มุ่งเน้น การนำเทคโนโลยีใหม่ มาบริการแก่ลูกค้า แต่ก็สามารถรักษาผลตอบแทนที่ดีแก่ผู้ถือหุ้น ลูกค้าและพนักงานของธนาคาร
การนำเทคโนโลยี เข้ามาให้บริการแก่ลูกค้า นอกจากจะอำนวยความสะดวกรวดเร็วแล้ว ยังคำนึงถึงการเพิ่มคุณค่า ในบริการที่ให้แก่ลูกค้า และการแพร่ขยายธุรกิจไป ในด้านต่าง ๆ อีกด้วย ทั้งนี้ นับตั้งแต่ธนาคาร ได้นำระบบบริการเงินด่วน ATM เข้ามาบริการแก่ลูกค้า เป็นธนาคารแรกในประเทศไทยแล้ว ก็ดูเหมือนว่า เป็นก้าวสำคัญ ของการเปลี่ยนแปลงของการธนาคารพาณิชย์ไทย ไปสู่การเป็นธนาคารใน ระบบธนาคารพาณิชย์ สมัยใหม่ จากนั้นธนาคาร ได้สร้างศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ ไทยพาณิชย์ขึ้น เพื่อเก็บสำรองข้อมูล และเทคโนโลยีเพื่อพัฒนา และให้บริการแก่ลูกค้า และยังใช้เป็นข้อมูล ในการตัดสินใจด้านการบริหารที่มีประสิทธิภาพอีกด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น