วันพุธที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

แจ้งงดให้บริการสาขาและปิดทำการก่อนเวลาปกติ

26 พ.ค. 2557
แจ้งงดให้บริการสาขาและปิดทำการก่อนเวลาปกติ
ธนาคารขอแจ้งงดให้บริการสาขาและปิดทำการก่อนเวลาปกติ ดังนี้
 

สาขาที่ปิดทำการ
ชื่อสาขา
สาขาใกล้เคียงที่เปิดให้บริการตามปกติ
สาขาที่สามารถทำธุรกรรมแทน*
 1.  ทำเนียบรัฐบาล
  • กระทรวงศึกษาธิการ
  • สะพานขาว
  • ไวท์มอลล์ 
 2. กรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI)
  • ตลาดใหม่ดอนเมือง
  • แจ้งวัฒนะ
  • สรงประภา
3. บิ๊กซี ปัตตานี  --

*สาขาที่สามารถทำธุรกรรมแทน คือ สาขาที่ท่านสามารถทำธุรกรรมได้เสมือนสาขาหลัก (สาขาเจ้าของบัญชี) ที่ท่านใช้บริการอยู่ อาทิ ปิดบัญชี เปลี่ยนแปลงข้อมูลส่วนตัวลูกค้า

สาขาที่ปิดก่อนเวลาทำการปกติ (คลิกชมได้ที่เอกสารแนบด้านล่าง)

ธนาคารขออภัยในความไม่สะดวกมา ณ โอกาสนี้

credit : http://www.ktb.co.th/ktb/th/news-detail.aspx?nid=oyjnRwenxJeM1VARcWbYcg%3d%3d

กรุงไทยยุววาณิชประจำปี 2556 เดินทางไปศึกษาดูงาน ณ ประเทศอินโดนีเซีย บาหลี

22 พ.ค. 2557
กรุงไทยยุววาณิชประจำปี 2556 เดินทางไปศึกษาดูงาน ณ ประเทศอินโดนีเซีย บาหลี

ฝ่ายบรรษัทภิบาลและกิจกรรมเพื่อสังคม พาคณะอาจารย์และนักเรียนที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ และรองชนะเลิศ รวมจำนวน 3 ทีม โครงการ “กรุงไทย ยุววาณิช” ประจำปี 2556 ได้แก่ บริษัท ม่านกกดุงวิทย์ พิชิตโลกร้อน จำกัด จากโรงเรียนบ้านดุงวิทยา จ.อุดรธานี, บริษัท รำลำมอนิ่งจำกัด จากโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย จ.เชียงใหม่ และบริษัท Black Coffee จำกัด จากวิทยาลัยเทคโนโลยีพายัพและบริหารธุรกิจ จ.เชียงใหม่ ศึกษาดูงาน ณ ประเทศ อินโดนีเซีย บาหลี โดยได้เยี่ยมชม สวนวิษณุการูด้า สถานที่ตั้งรูปปั้นของพระวิษณุ(พระนารายณ์)ขนาดใหญ่และรูปปั้นของเทพการูด้า(ครุฑ) เทพเจ้าแห่งเสรีภาพของชาวฮินดูและเป็นพาหนะของพระวิษณุ ศึกษาดูงาน ณ โรงงานกาแฟ ชมขั้นตอนการผลิต และศึกษาดูงานโรงเรียน SMA Negeri 4 Denpasar ซึ่งเป็นโรงเรียนอันดับ 1 ในบาหลี อันเป็นการเปิดโลกทัศน์การเรียนรู้จากประสบการณ์จริงให้แก่นักเรียน ในระหว่างวันที่ 14-18 พฤษภาคม 2557

credit :
http://www.ktb.co.th/ktb/th/news-detail.aspx?nid=Ra07brTYty0QvKfBTgSD3Q%3d%3d

วันเสาร์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

โครงสร้างองค์กร (กรณีศึกษา)

รูปแบบการจัดองค์การของธนาคารกรุงไทย

ที่มาของภาพ :  http://www.ktb.co.th/
การจัดองค์การแบบโครงงสร้างแบบแมททริกซ์ (Matrix Structure)
         ธนาคารได้นำหลักของการบริหารความเสี่ยง และระบบ Matrix System เข้ามาประยุกต์ใช้ เพื่อให้เกิดการถ่วงดุล (Check & Balance) และปฏิบัติงานโดยตอบสนองในวัตถุประสงค์ต่างในเวลาเดียวกัน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในคุณภาพการดำเนินธุรกิจและการประสานร่วมมือกันระหว่างหน่วยงานต่างๆ ในธนาคาร
          ธนาคารได้ยึดหลักเน้นการบริหารความเสี่ยง (Risk Management) ซึ่งจะก่อให้เกิดระบบการถ่วงดุล (Check & Balance) มีการควบคุมความเสี่ยง (Risk Control) และผู้รับผิดชอบที่ชัดเจน (Risk Owner) นอกจากนี้ ธนาคารยังเน้นรูปแบบ Matrix Organization ซึ่งเป็นการเน้นการทำงานโดยมุ่งให้บรรลุตามเป้าหมายหลักขององค์กรและเป้าหมายของหน่วยงานในเวลาเดียวกัน อีกทั้งเน้นการรวมศูนย์สำหรับงานเชิงนโยบายและกระจายเรื่องการปฏิบัติการแก่หน่วยงานเพื่อให้ได้งานที่เป็นมาตรฐานและคุณภาพเดียว wbr และเน้นความรับผิดชอบและความสัมพันธ์ของงานให้มีความชัดเจน เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Governance) และสร้างความน่าเชื่อถือ ส่วนผู้ถือหุ้น จะมีความมั่นใจว่าเงินลงทุนในธนาคารจะไม่สูญเปล่า และเสื่อมค่า รวมทั้งเชื่อมั่นในทิศทางที่ธนาคารจะเดินหน้าต่อไป และในท้ายที่สุด พนักงานมีความมั่นใจในทิศทางของธนาคาร สามารถเตรียมตัวปรับเพื่อให้รับกับทิศทางใหม่ สามารถตัดสินใจสำหรับอนาคตได้
ลักษณะการจัดองค์การของธนาคารกรุงไทย จำกัด( มหาชน )
         ธนาคารได้ปฏิบัติตามแนวทางโครงสร้างคณะกรรมการ เพื่อส่งเสริมบรรษัทภิบาลของธนาคารพาณิชย์ โดยจัดโครงสร้างการจัดการ ซึ่งประกอบไปด้วยคณะกรรมการรวม 7 ชุด ดังนี้
 1. Organization Chat รวมของทั้งระบบ      
1.             คณะกรรมการธนาคาร
คณะกรรมการธนาคารมีอำนาจเต็มในการบริหารงาน เพื่อประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ ข้อบังคับของธนาคาร และมติของที่ประชุมผู้ถือหุ้น ทั้งนี้ อยู่ภายใต้เงื่อนไขและข้อกำหนดของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 
2.             คณะกรรมการบริหาร
การพิจารณากลั่นกรองหรืออนุมัติสินเชื่อ ปรับปรุงหนี้ และตัดหนี้สูญ ตามอำนาจที่กำหนด
การพิจารณากลั่นกรองหรืออนุมัติการลงทุน หรือขายหลักทรัพย์ที่ธนาคารลงทุน การซื้อขายหรือให้เช่าทรัพย์ของธนาคาร ตามอำนาจที่กำหนด
การพิจารณากลั่นกรองหรืออนุมัติแต่งตั้งผู้บริหาร ตามที่ได้รับมอบหมาย
การพิจารณากลั่นกรองหรืออนุมัติการว่าจ้างที่ปรึกษา การจัดซื้อจัดจ้างตามระเบียบการพัสดุ
การพิจารณากลั่นกรองแผนธุรกิจ งานนโยบายและงบประมาณประจำปี การติดตามงานที่มีความสำคัญที่คณะกรรมการธนาคารมอบหมาย
การพิจารณาอนุมัติหรือรับทราบกิจการอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการบริหารงานที่คณะกรรมการบริหารเห็นว่าจำเป็นหรือสมควรเป็นการเร่งด่วนเพื่อแก้ปัญหา ซึ่งหากไม่ดำเนินการแล้วจะเกิดความเสียหายแก่ธนาคาร และรายงานให้คณะกรรมการธนาคารทราบโดยเร็ว
ดำเนินการอื่นใดตามที่คณะกรรมการธนาคารมอบหมาย
3.             คณะกรรมการตรวจสอบ
สอบถามให้ธนาคารมีการรายงานทางการเงิน อย่างเพียงพอถูกต้อง และเชื่อถือได้ เป็นไปตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป
สอบถามกับผู้สอบบัญชีถึงประเด็นสำคัญ ๆ อันอาจกระทบต่อความเชื่อถือได้ของรายงานทางการเงิน
สอบถามกรณีที่เกิดรายการที่เกี่ยวโยงกัน หรือรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ เพื่อพิจารณาการเปิดเผยข้อมูลของธนาคารและการบันทึกบัญชีให้มี ความถูกต้องและครบถ้วนโปร่งใส
สอบถามหลักฐานหากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการดำเนินการ ที่อาจมีผลกระทบต่อผลการดำเนินงานของธนาคารอย่างมีนัยสำคัญ หรือขัดแย้งทางผลประโยชน์ ที่อาจมีผลกระทบต่อการดำเนินงานของธนาคาร
สอบถามถึงข้อมูลที่นำส่งหน่วยงานกำกับดูแล ให้มีความสอดคล้องกับข้อมูลในรายงานทางการเงิน
4.             คณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน
- กำหนดนโยบาย หลักเกณฑ์ และวิธีการ ในการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน รวมทั้งผลประโยชน์อื่นของกรรมการธนาคาร และผู้บริหารระดับสูง
- พิจารณาเสนอแนะนโยบายในภาพรวมเกี่ยวกับการกำหนดค่าตอบแทนและผลประโยชน์อื่นของธนาคาร
- สรรหาและคัดเลือกบุคคลที่มีคุณสมบัติ ตามระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกำหนด แล้วนำเสนอคณะกรรมการธนาคารเพื่อพิจารณาแต่งตั้งเป็นกรรมการธนาคารหรือผู้บริหารระดับสูงของธนาคาร
- ดูแลให้คณะกรรมการธนาคาร มีขนาดและองค์ประกอบที่เหมาะสมกับองค์กร รวมถึงมีการปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป
- เสนอคณะกรรมการธนาคาร เพื่อพิจารณาแต่งตั้งกรรมการธนาคารแทนกรรมการที่พ้นจากตำแหน่งตามข้อบังคับ
- ดูแลให้กรรมการและผู้บริหารระดับสูงของธนาคารได้รับผลตอบแทนที่เหมาะสมกับหน้าที่และความรับผิดชอบที่มีต่อธนาคาร
- กำหนดแนวทางและประเมินผลงานของผู้บริหารระดับสูง
- ดำเนินการอื่น ตามที่คณะกรรมการธนาคารมอบหมาย

5.             คณะกรรมการบรรษัทภิบาลและความรับผิดชอบต่อสังคม
เสนอแนวนโยบายเกี่ยวกับหลักบรรษัทภิบาลและความรับผิดชอบต่อสังคมของธนาคารและบริษัทในเครือต่อคณะกรรมการธนาคาร
กำกับดูแลการปฏิบัติงานของธนาคารให้เป็นไปตามหลักบรรษัทภิบาลของสถาบันกำกับ เช่น ธนาคารแห่งประเทศไทย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เป็นต้น ด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม
พิจารณาทบทวนเกี่ยวกับนโยบายด้านบรรษัทภิบาลและความรับผิดชอบต่อสังคมของธนาคารอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางปฏิบัติของสากล และข้อเสนอแนะของสถาบันหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
พิจารณาเสนอข้อพึงปฏิบัติที่ดี สำหรับคณะกรรมการธนาคาร หรือเสนอการกำหนดข้อบังคับคณะกรรมการธนาคาร และคณะกรรมการที่ธนาคารแต่งตั้งทุกชุด
-  เสนอแนะข้อกำหนดเกี่ยวกับจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจของธนาคาร และข้อพึงปฏิบัติของผู้บริหาร
ส่งเสริมการเผยแพร่วัฒนธรรมในการกำกับดูแลกิจการที่ดี และการมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนให้เป็นที่เข้าใจทั่วทุกระดับ และมีผลในทางปฏิบัติ
พิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการชุดย่อยเพื่อทำหน้าที่สนับสนุนงานบรรษัทภิบาลและความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ได้ตามความเหมาะสม
การอื่นใดที่คณะกรรมการธนาคารมอบหมาย
6.             คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง
เสนอ/กำหนดนโยบายบริหารความเสี่ยงโดยรวมต่อคณะกรรมการธนาคาร ซึ่งครอบคลุมความเสี่ยงประเภทต่างๆที่สำคัญ ได้แก่ ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ ความเสี่ยงด้านเครดิต ความเสี่ยงด้านตลาด ความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง ความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ และความเสี่ยงที่มีผลกระทบต่อชื่อเสียงของกิจการ เป็นต้น
วางกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับนโยบายบริหารความเสี่ยง โดยสามารถประเมิน ติดตาม และดูแลปริมาณความเสี่ยงของธนาคารให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
ควบคุม ติดตาม ประเมินผลการบริหารความเสี่ยง และดูแลให้ธนาคารดำเนินการตามนโยบายและแนวทางบริหารความเสี่ยงที่ธนาคาร และหน่วยงานกำกับกำหนด
ทบทวนความเพียงพอของนโยบายและระบบบริหารความเสี่ยง รวมถึงความมีประสิทธิผลของระบบและการปฏิบัติตามนโยบายที่กำหนด
เสนอ/กำหนดนโยบายการบริหารความเสี่ยง และกำกับดูแลการบริหารความเสี่ยงของกลุ่มธุรกิจทางการเงินให้เป็นไปตามแนวทางการกำกับแบบรวมกลุ่ม (Consolidated Supervision) ของธนาคารแห่งประเทศไทย ตลอดจนควบคุมติดตามและประเมินความเสี่ยงของกลุ่มธุรกิจทางการเงินให้มีประสิทธิภาพและอยู่ในระดับที่ยอมรับได้
นำเสนอรายงานผลการดำเนินงานของคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงต่อคณะกรรมการตรวจสอบเพื่อรับทราบและ/หรือพิจารณาทุกเดือน และรายงานต่อคณะกรรมการธนาคารเพื่อทราบ และ/หรือพิจารณาทุกไตรมาส
- มีอำนาจที่จะเชิญฝ่ายจัดการหรือผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม และให้ข้อมูลหรือเอกสารในส่วนที่เกี่ยวข้องได้
ปฏิบัติหน้าที่อื่นใดตามที่ได้รับมอบหมาย
7.             คณะกรรมการกำกับการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์
ทำหน้าที่ช่วยคณะกรรมการธนาคารในการปฏิบัติหน้าที่กำกับดูแลเกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของธนาคาร เพื่อให้มั่นใจว่า ธนาคารและบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินมีการดำเนินธุรกิจที่สอดคล้องกับกฎหมาย กฎเกณฑ์ ข้อบังคับ มาตรฐาน และแนวปฏิบัติที่ใช้บังคับกับธุรกรรมต่างๆ ทั้งจากหน่วยงานทางการที่มีอำนาจตามกฎหมายหรือผู้กำกับสถาบันการเงิน และกฎระเบียบภายในธนาคาร
 2. Organization Chat ของสายงานต่างๆ
ธนาคารจะแบ่งกลุ่มงานออกเป็น 2 ลักษณะตามหน้าที่ความรับผิดชอบ ประกอบด้วย กลุ่มงานหลัก และกลุ่มงานที่ไม่ใช่งานหลัก
1.             กลุ่มงานสายงานหลัก
-                   สายงานธุรกิจรายย่อยและเครือข่าย
-                   สายงานธุรกิจขนาดกลาง
-                   สายงานธุรกิจขนาดใหญ่ 1
-                   สายงานธุรกิจขนาดใหญ่ 2
-                   สายงานธุรกิจภาครัฐ
-                   สายงานธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์และบริการจัดการทางการเงิน
2.             กลุ่มงานที่ไม่ใช่สายงานหลัก
-                   สายงานบริหารการเงิน
-                   สายงานกำกับและบริหารงานกฎหมาย
-                   สายงานปรับโครงสร้างหนี้และบริหารทรัพย์สิน
-                   สายงานบริหารความเสี่ยง
-                   สายงานปฏิบัติการ
-                   สายงานตรวจสอบภายใน
-                   สายงานทรัพยากรบุคคลและบรรษัทภิบาล
-                   สายงานบริหารการตลาดและสื่อสารองค์กร
-                   กลุ่มยุทธศาสตร์ธนาคาร
3.             Organization Chat ของฝ่ายต่างๆ ในสำนักงานใหญ่
ฝ่ายต่างๆ จะมีหน้าที่ความรับผิดชอบตาม Functional ของฝ่ายที่ได้รับมอบหมาย โดยจะอยู่ภายใต้กรอบแนวทาง การดำเนินงานตามเป้าหมายที่ได้วางไว้  จากประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ และมีคณะกรรมการธนาคารซึ่งได้รับการรับเลือกจากผู้ถือหุ้นให้ทำหน้าที่ควบคุมดูแลการดำเนินงาน
4.             Organization Chat ของสำนักงานเขตและสาขา 
ธนาคารกรุงไทยมีสาขาทั้งหมด 1,167 สาขา โดยแบ่งเป็น
-                   สาขาในเขตกรุงเทพและเขตปริมณฑล  442  สาขา
-                   สาขาในภาคกลาง  105  สาขา
-                   สาขาในภาคเหนือ  172  สาขา
-                   สาขาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  212  สาขา
-                   สาขาในภาคตะวันออก  104  สาขา
-                   สาขาในต่างประเทศ  9  สาขา
      สาขาของธนาคารจะได้รับมอบอำนาจจากสำนักงานใหญ่ในการบริหารดูแลและสนับสนุน
ให้สามารถทำธุรกิจแข่งขันกับธนาคารอื่นได้ โดยในแต่ละสาขาจะมีผู้จัดการสาขาเป็นผู้ควบคุมดูแลกิจการในการดำเนินการให้บรรลุตามเป้าหมาย
ที่มา รายประจำปีธนาคารกรุงไทย ปี 2556

 คณะกรรมการบริหาร
นางอรุณภรณ์ ลิ่มสกุล          กรรมการธนาคาร ประธานกรรมการบรรษัทภิบาลและความรับผิดชอบต่อสังคม และกรรมการบริหาร
นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล     กรรมการธนาคาร และประธานกรรมการบริหาร
นายยงยุทธ ชัยพรหมประสิทธิ์            กรรมการธนาคาร กรรมการบริหาร และกรรมการบรรษัทภิบาลและความรับผิดชอบต่อสังคม
นายวรภัค ธันยาวงษ์              กรรมการผู้จัดการใหญ่ กรรมการบริหาร และกรรมการบริหารความเสี่ยง


คณะกรรมการธนาคาร
นายวรวิทย์ จำปีรัตน์             ประธานกรรมการธนาคาร
นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล     กรรมการธนาคาร และประธานกรรมการบริหาร
นายจุลสิงห์ วสันตสิงห์         ประธานกรรมการอิสระ ประธานกรรมการตรวจสอบ และกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน
นายนนทิกร กาญจนะจิตรา  กรรมการอิสระ ประธานกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน กรรมการตรวจสอบ และกรรมการกำกับการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์
นางอรุณภรณ์ ลิ่มสกุล          กรรมการธนาคาร ประธานกรรมการบรรษัทภิบาลและความรับผิดชอบต่อสังคม และกรรมการบริหาร
นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์    กรรมการอิสระ ประธานกรรมการบริหารความเสี่ยง ประธานกรรมการกำกับการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ และกรรมการตรวจสอบ
นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ      กรรมการธนาคาร กรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน และกรรมการบริหารความเสี่ยง
นายวีรภัทร ศรีไชยา              กรรมการอิสระ กรรมการบรรษัทภิบาลและความรับผิดชอบต่อสังคม และกรรมการบริหารความเสี่ยง
นายยงยุทธ ชัยพรหมประสิทธิ์            กรรมการธนาคาร กรรมการบริหาร และกรรมการบรรษัทภิบาลและความรับผิดชอบต่อสังคม
นายกัลยาณะ วิภัติภูิมิประเทศ              กรรมการอิสระ และกรรมการกำกับการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์
นายสมชาย พูลสวัสดิ์            กรรมการธนาคาร และกรรมการบรรษัทภิบาลและความรับผิดชอบต่อสังคม
นายวรภัค ธันยาวงษ์              กรรมการผู้จัดการใหญ่ กรรมการบริหาร และกรรมการบริหารความเสี่ยง

คณะกรรมการตรวจสอบ
นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์    กรรมการอิสระ ประธานกรรมการบริหารความเสี่ยง ประธานกรรมการกำกับการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ และกรรมการตรวจสอบ
นายนนทิกร กาญจนะจิตรา  กรรมการอิสระ ประธานกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน กรรมการตรวจสอบ และกรรมการกำกับการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์
นายจุลสิงห์ วสันตสิงห์         ประธานกรรมการอิสระ ประธานกรรมการตรวจสอบ และกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน

ธนาคารกรุงไทย
สาขาในประเทศไทย มีทั้งหมด 1,167 สาขา (ข้อมูลจากรายงานประจำปี : ณ วันที่ 31 มกราคม 2557)
สาขาในเขตกรุงเทพ      298 สาขา                                             
สาขาในเขตปริมณฑล  144  สาขา
-นครปฐม 20 สาขา
-นนทบุรี 29 สาขา
-ปทุมธานี 26 สาขา
-สมุทรปราการ 28 สาขา
-สมุทรสาคร 11สาขา
สาขาในภาคกลาง  105  สาขา
-กาญจนบุรี 12 สาขา
-ชัยนาท 4 สาขา
-เพชรบุรี 6 สาขา
-ประจวบคีรีขันธ์ 10 สาขา
-ราชบุรี 14 สาขา
-พระนครศรีอยุธยา 15 สาขา
-สิงห์บุรี 3 สาขา
-ลพบุรี 11 สาขา
-สุพรรณบุรี 12 สาขา
-สมุทรสงคราม 2 สาขา
-อ่างทอง 12 สาขา
-สระบุรี 12 สาขา
สาขาในภาคเหนือ  172  สาขา
-กำแพงเพชร 9 สาขา
-เชียงราย 16 สาขา
-เชียงใหม่ 40 สาขา
-ตาก 6 สาขา
-นครสวรรค์ 15 สาขา
-พิษณุโลก 16 สาขา
-น่าน 3 สาขา
-พะเยา สาขา
-เพชรบูรณ์สาขา
-พิจิตร 7 สาขา
-แพร่ 4 สาขา
-แม่ฮ่องสอน 4 สาขา
-อุตรดิตถ์ 8 สาขา
-ลำปาง 10 สาขา
-ลำพูน 6 สาขา
-สุโขทัย 7 สาขา

สาขาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  212  สาขา
-กาฬสินธุ์ 5 สาขา
-ขอนแก่น 25 สาขา
-ชัยภูมิ 10 สาขา
-นครพนมสาขา
-นครราชสีมา 28 สาขา
-บุรีรัมย์ 12 สาขา
-มหาสารคาม 11 สาขา
-มุกดาหาร 4 สาขา
-ยโสธร 6 สาขา
-ร้อยเอ็ด 13 สาขา
-เลย 5 สาขา
-ศรีสะเกษ 9 สาขา
-สกลนคร 9 สาขา
-สุรินทร์ 11 สาขา
-หนองคาย 13 สาขา
-หนองบัวลำภู 3 สาขา
-อุบลราชธานี 23 สาขา
-อุดรธานี 17 สาขา
-อำนาจเจริญสาขา

สาขาในภาคตะวันออก  104  สาขา
-จันทบุรี 12 สาขา
-ฉะเชิงเทรา 15  สาขา
-ชลบุรี 43 สาขา
-ตราด 5 สาขา
-นครนายก 3 สาขา
-ปราจีนบุรี 5 สาขา
-ระนอง 16 สาขา
-สระแก้ว 5 สาขา
สาขาในภาคใต้  162  สาขา
-กระบี่ 10 สาขา
-ชุมพร 8 สาขา
-ตรัง 13 สาขา
-นครศรีธรรมราช 21  สาขา
-นราธิวาส 5 สาขา
-ปัตตานี 4 สาขา
-พังงา 5 สาขา
-พัทลุง 7 สาขา
-ภูเก็ต 14 สาขา
-ยะลา 8 สาขา
-ระนอง 3 สาขา
-สงขลา 31 สาขา
-สตูล 4 สาขา
-สุราษฎร์ธานี 29 สาขา



สาขาในต่างประเทศ  9  สาขา
-สาขาอุนหมิง (ประเทศจีน)                                                  -สาขาสิงค์โปร์  (ประเทศสิงคโปร์)
-สาขาย่อยจัหวัดเสีบมเรียบ (ประเทศกัมพูชา)                       -สาขาเคย์แมน (หมู่เกาะเคย์แมน ประเทศคิวบา)
-สาขานครหลวงเวียงจันทน์  (ประเทศลาว)
-สนง.ผู้แทนย่างกุ้ง (ประเทศพม่า)
-สาขาพนมเปญ (ประเทศกัมพูชา)
-สาขามุมไบ  (ประเทศอินเดีย)
-สาขาลอสแองเจลิส (ประเทศสหรัฐอเมริกา)